ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ

โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ (ญี่ปุ่น: ???? Tokugawa Ieyasu,  31 มกราคม พ.ศ. 2086 – 1 มิถุนายน พ.ศ. 2159 ?) คือผู้สถาปนาบะกุฟุ (รัฐบาลทหาร) ที่เมือง เอะโดะ (โตเกียวในปัจจุบัน) และ โชกุน คนแรกของ ตระกูลโทะกุงะวะ ที่ปกครองประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่สิ้นซุด ศึกเซะกิงะฮะระและเริ่มต้นยุคเอะโดะ เมื่อปี พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600) กระทั่งเริ่ม ยุคเมจิ เมื่อปี พ.ศ. 2411 (ค.ศ. 1868)

อิเอะยะซุได้รับการแต่งตั้งเป็นโชกุนในปี พ.ศ. 2146 (ค.ศ. 1603) และออกจากตำแหน่งในอีกสองปีต่อมา แต่เขาก็ยังมีอิทธิพลเรื่อยมากระทั่งเขาเสียชีวิตลงเมื่อปี พ.ศ. 2159 (ค.ศ. 1616)

โทะกุงะวะ อิเอะยะซุเป็นไดเมียวคนหนึ่งที่สำคัญ เขาปราบปรามคู่แข่งโดยใช้กำลังทหารเข้าจัดการ หลังจากได้รับชัยชนะในสงครามที่เซะกิงะฮะระ อิเอะยะซุแต่งตั้งตนเองเป็นโชกุนคนแรกแห่งตระกูลโทะกุงะวะซึ่งตระกูลนี้ปกครองญี่ปุ่นจนถึงค.ศ. 1868 (พ.ศ. 2411) ก่อนจะหมดอำนาจลงและพระราชอำนาจก็กลับมาอยู่ที่องค์พระจักรพรรดิอีกครั้ง

โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ เกิดในค.ศ. 1542 ที่ปราสาทโอะกะซะกิ (???) ในแคว้นมิกะวะ (??) จังหวัดไอจิในปัจจุบัน มีชื่อว่า ทะเกะชิโยะ (???) อันเป็นชื่อบังคับของบุตรชายคนแรกของตระกูลมะสึไดระ เป็นบุตรชายคนแรกของ มะสึไดระ ฮิโระตะดะ (????) ไดเมียวแห่งแคว้นมิกะวะ และนางโอะได (????) บุตรสาวของไดเมียวแคว้นข้างเคียง สองปีต่อมาในค.ศ. 1544 นางโอะไดมารดาของทะเกะชิโยะได้หย่าขาดจากฮิโระตะดะผู้เป็นบิดาและกลับไปยังแคว้นเดิมของตน

ในช่วงกลางศตวรรษที่สิบหก สองตระกูลได้แก่ ตระกูลโอะดะ (??) และตระกูลอิมะงะวะ (Imagawa, ??) ได้แข่งขันกันขึ้นมามีอำนาจในแถบคันไซ ตระกูลเล็กอย่างตระกูลมะสึไดระจึงต้องเข้าสักฝ่ายหนึ่ง ในค.ศ. 1548 โอะดะ โนะบุฮิเดะ (????) ได้เข้ารุกรานแคว้นมิกะวะ ทำให้ฮิโระตะดะตัดสินใจนำตระกูลมะสึไดระเข้าสวามิภักดิ์ต่อตระกูลอิมะงะวะซึ่งนำโดย อิมะงะวะ โยะชิโมะโตะ (????) โดยส่งบุตรชายคือทะเกะชิโยะอายุเพียงหกปีไปเป็นตัวประกันที่ปราสาทซุมปุ ( ??) ในเมืองชิซุโอะกะ จังหวัดชิซุโอะกะในปัจจุบัน อันเป็นฐานที่มั่นของตระกูลอิมะงะวะ ในค.ศ. 1549 ฮิโระตะดะผู้เป็นบิดาได้เสียชีวิตลง ทะเกะชิโยะจึงต้องสืบทอดตำแหน่งไดเมียวแห่งมิกะวะ และผู้นำตระกูลมะสึไดระ ทั้งที่อายุเพียงเจ็ดปีเท่านั้น และต้องเป็นตัวประกันอยู่ที่ปราสาทซุมปุ

ในค.ศ. 1556 ทะเกะชิโยะได้เข้าพิธี เง็มปุกุ และได้แต่งงานกับนางซึกิยะมะ (???) หลานสาวของอิมะงะวะ โยะชิโมะโตะ พร้อมทั้งได้รับชื่อของผู้ใหญ่ว่า มะสึไดระ โมะโตะยะซุ (????) และได้รับการปล่อยตัวให้กลับไปยังปราสาทโอะกะซะกิเพื่อปกครองแคว้นมิกะวะต่อไปในฐานะข้ารับใช้ของตระกูลอิมะงะวะ โมะโตะยะซุจับศึกครั้งแรกมีหน้าที่ส่งเสบียงเมื่อคราวที่โอะดะ โนะบุนะงะ (????) ยกทัพเข้าล้อมปราสาทเทะระเบะ (???) ในค.ศ. 1558 แต่ถูกทัพของโนะบุนะงะตีแตกไป ปรากฏว่าในค.ศ. 1560 อิมะงะวะ โยะชิโมะโตะ ได้ถูกทัพของโอะดะ โนะบุนะงะสังหารไปในยุทธการโอะเกะฮะซะมะ (Okehazama-no-tatakai, ??????)

เมื่ออิมะงะวะ โยะชิโมะโตะ เสียชีวิตไปนั้นทำให้อำนาจของตระกูลอิมะงะวะเสื่อมลง โมะโตะยะซุจึงผันตนเองเปลี่ยนฝ่ายย้ายไปเป็นข้ารับใช้ของโอะดะ โนะบุนะงะ โดยในค.ศ. 1563 ได้ให้บุตรชายของตนคือ มะสึไดระ โนะบุยะซุ (????) แต่งงานกับท่านหญิงโทะกุ (??) บุตรสาวของโอะดะ โนะบุนะงะ ในค.ศ. 1564 โมะโตะยะซุได้ทำการปรามปรามกองทัพพระสงฆ์นักรบที่เรียกว่า อิกโก-อิกกิ (????) ในแคว้นมิกะวะ ซึ่งเป็นกลุ่มของพระสงฆ์และชาวบ้านที่ยึดมั่นในพระพุทธศาสนามหายานนิกายแดนบริซุทธิ์และต่อต้านการปกครองของซะมุไร ในยุทธการอะซุกิซะกะ (??????) ในค.ศ. 1567 โมะโตะยะซุได้เปลี่ยนชื่อและชื่อตระกูลของตนเองเป็น โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ในค.ศ. 1569 ได้เอาชนะอิมะงะวะ อุจิซะเนะ (????) บุตรชายของอิมะงะวะ โยะชิโมะโตะ ในการล้อมปราสาทคะเกะงะวะ และในค.ศ. 1570 ได้ร่วมกับโอะดะ โนะบุนะงะในการต่อสู้กับตระกูลอะซะอิ (??) และอะซะกุระ (??) ในยุทธการอะเนะงะวะ (?????) ซึ่งชัยชนะในครั้งนี้ทำให้โอะดะ โนะบุนะงะ มีอำนาจเหนือแถบคันไซอย่างสมบูรณ์

เมื่อรวบรวมอำนาจในแถบคันไซได้อย่างเป็นปึกแผ่นแล้ว โอะดะ โนะบุนะงะ ได้เบนความสนใจไปยังแถบคันโตในทางตะวันออก ซึ่งในขณะนั้นตระกูลทะเกะดะ (??) กำลังเรืองอำนาจ มีทะเกะดะ ชิงเง็น (????) และทะเกะดะ กะสึโยะริ (????) บุตรชาย เป็นผู้นำ ในค.ศ. 1572 ทะเคะดะ ชิงเง็น ได้ยกทัพเข้าบุกแคว้นโทโตมิ ( ??) อันเป็นดินแดนของตระกูลโทะกุงะวะ ในยุทธการมิกะตะงะฮะระ (???????) จังหวัดชิซุโอะกะในปัจจุบัน แม้จะได้รับกำลังเสริมจากโอะดะ โนะบุนะงะ แต่การสู้รบในครั้งนี้เป็นความพ่ายแพ้ครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่ซุดของอิเอะยะซุ จนต้องหลบหนีออกจากสมรภูมิพร้อมกำลังพลเพียงหยิบมือ แต่โชคดีที่ในปีต่อทะเกะดะ ชิงเง็น ได้เสียชีวิตลงในค.ศ. 1573 ในค.ศ. 1575 กะสึโยะริบุตรชายได้ยกทัพมาล้อมปราสาทนะงะชิโนะ (??) ในแคว้นมิกะวะ (จังหวัดไอจิ) ซึ่งดูแลป้องกันโดยโอะกุไดระ ซะดะมะซะ (????) ทั้งอิเอะยะซุและโอะดะ โนะบุนะงะต่างส่งทัพของตนเข้ากอบกู้ปราสาทอย่างเต็มที่ จนกระทั่งประสบชัยชนะสามารถขับทัพของตระกูลทะเกะดะออกไปได้

กล่าวถึงนางซึกิยะมะ ภรรยาของอิเอะยะซุ มักจะมีปัญหาขัดแย้งกับลูกซะใภ้อยู่เสมอ คือท่านหญิงโทะกุ ภรรยาของโนะบุยะซุ จนกระทั่งในปี 1579 ท่านหญิงโทะกุทนไม่ได้จึงเขียนจดหมายฟ้องโอะดะ โนะบุนะงะ บิดาของตน ว่านางซึกิยะมะ ซึ่งเป็นคนจากตระกูลอิมะงะวะ ได้ติดต่อและสมคบคิดกับทะเคะดะ กะสึโยะริ ในการทรยศหักหลังท่านโอดะ เมื่อทราบเรื่องอิเอะยะซุได้มีคำสั่งให้กักขังนางสึกิยะมะภรรยาเอกของตนไว้ ต่อมาไม่นานจึงมีคำสั่งจากโอะดะ โนะบุนะงะ ให้โนะบุยะซุ บุตรชายคนโตของอิเอะยะซุ กระทำการเซ็ปปุกุ และประหารชีวิตนางสึกิยะมะ ในข้อหาทรยศสมคบคิดกับตระกูลทะเกะดะ อิเอะยะซุจึงจำต้องสั่งประหารชีวิตภรรยาและบุตรชายของตนไป แต่ในปีเดียวกันนั้นเอง นางไซโง (????) ภรรยาน้อยคนโปรดของอิเอะยะซุ ได้ให้กำเนิดบุตรชายคนที่สาม คือ นะกะมะรุ หรือภายหลังคือ โทะกุงะวะ ฮิเดะตะดะ (????)

ในค.ศ. 1582 ทัพผสมของตระกูลโอดะและตระกูลโทะกุงะวะ เอาชนะทัพของทะเกะดะ คะซึโยะริได้ ในยุทธการเท็มโมะกุซัน (??????) จังหวัดยะมะนะชิในปัจจุบัน คะซึโยะริได้กระทำการเซ็ปปุกุหลังจากที่พ่ายแพ้ เป็นอวสานของตระกูลทะเกะดะ

ในค.ศ. 1582 โอะดะ โนะบุนะงะ ถูกลอบสังหารที่วัดฮนโน (Honn?-ji, ???) โดยอะเกะจิ มิสึฮิเดะ (????) ในเวลานั้นอิเอะยะซุพำนักอยู่ที่บริเวณใกล้กับเมืองโอซะกะในปัจจุบัน พร้อมกับกำลังพลเพียงน้อยนิด เกรงว่าตนจะถูกลอบสังหารจึงได้เดินทางอย่างหลบซ่อนกลับไปยังปราสาทโอะกะซะกิ เมื่อถึงแคว้นของตนแล้วก็ได้ทราบข่าวว่า ฮะชิบะ ฮิเดะโยะชิ (???? ภายหลังคือ โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ) ได้ทำการสังหารอะเกะจิ มิสึฮิเดะ ไปเสียแล้ว และได้ทำการยึดอำนาจเพื่อขึ้นปกครองญี่ปุ่น แต่อิเอะยะซุในฐานะที่เป็นข้ารับใช้คนสำคัญของโอะดะ โนะบุนะงะ และมีกำลังพลมาก ยังเป็นอุปสรรคขัดขวางการเถลิงอำนาจของฮะชิบะ ฮิเดะโยะชิ จนกระทั่งเมื่อโอดะ โนะบุกะสึ (????) บุตรชายคนที่สองของโอะดะ โนะบุนะงะ ซึ่งไม่พอใจการยึดอำนาจของฮิเดะโยะชิและต้องการที่จะสืบทอดตระกูลโอดะ จึงได้มาขอความช่วยเหลือจากอิเอะยะซุ ไดเมียวผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสองจึงสู้รบกันในยุทธการโคะมะกิและนะงะกุเตะ (?????????) ในค.ศ. 1584 แต่ไม่ปรากฏมีผู้แพ้ชนะเสียทีทั้งสองฝ่ายจึงเจรจาสงบศึก โดยที่ตระกูลโทะกุงะวะยอมที่จะเป็นพันธมิตรของฮิเดะโยะชิ และฮิเดะโยะชิได้ส่งน้องสาวของตนคือ ท่านหญิงอะซะฮี (???) มาเป็นภรรยาเอกคนใหม่ของอิเอะยะซุ

ทั้งโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ และโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ต่างหวาดระแวงกันตลอดมา โดยเฉพาะในคราวสงครามกับตระกูลโฮโจ (H?j?, ??) ในค.ศ. 1590 ในแถบคันโต อิเอะยะซุได้เคยเป็นพันธมิตรกับโฮโจ อุจิมะซะ (H?j? Ujimasa, ????) เมื่อครั้งสงครามกับตระกูลทะเคะดะ และได้ยกบุตรสาวของตนคือ ท่านหญิงโทะกุ (Toku-hime, ??) ให้ไปแต่งงานกับโฮโจ อุจินะโอะ (H?j? Ujinao, ????) ทายาทของโฮโจ อุจิมาซะ ฮิเดะโยะชิทราบความจริงข้อนี้เป็นอย่างดี และแม้จะขอทัพตระกูลโทะกุงะวะเป็นกำลังสำคัญแต่ก็มีความหวาดระแวงอย่างมาก จึงร้องขอให้อิเอะยะซุส่งบุตรชายคือ นะกะมะรุ มาเป็นตัวประกันที่ปราสาทโอซะกะ การล้อมปราสาทโอะดะวะระ (?????) ของตระกูลโฮโจ จังหวัดคะนะงะวะในปัจจุบัน จบลงด้วยชัยชนะของฝ่ายโทะโยะโตะมิ และโฮโจ อุจิมะซะได้กระทำการเซ็ปปุกุ ชัยชนะในครั้งนี้ทำให้ฮิเดะโยะชิเข้าควบคุมแถบคันโตได้อย่างสมบูรณ์ หลังจากศึกในครั้งนี้ฮิเดะโยะชิได้ตอบแทนอิเอะยะซุ ด้วยการขับตระกูลโทะกุงะวะออกจากแคว้นมิกะวะ อันเป็นฐานที่มั่นของตระกูลโทะกุงะวะมาเกือบหนึ่งร้อยปี และมอบดินแดนทางแถบคันโตอันห่างไกลและกันดารที่เคยเป็นของตระกูลโฮโจให้ปกครอง อิเอะยะซุจึงได้เลือกปราสาทเอะโดะ เป็นฐานที่มั่นใหม่ของตระกูลโทะกุงะวะ

อิเอะยะซุยังได้หลีกเลี่ยง ที่จะส่งกองทัพของตนเข้าร่วมการรุกรานอาณาจักรโชซ็อน (การรุกรานเกาหลีของญี่ปุ่น (พ.ศ. 2135-2141)) ของฮิเดะโยะชิในค.ศ. 1592 เป็นรักษากำลังทหารของตนเอง ไม่ให้เสียไปกับสงครามที่ไม่คุ้มค่า

ในค.ศ. 1598 ไทโค โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ถึงแก่อสัญกรรมด้วยความชราภาพ เหลือบุตรชายคือ โทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะริ (????) อายุเพียงห้าปี สืบทอดตระกูลโทะโยะโตะมิต่อมา ก่อนจะถึงแก่อสัญกรรมฮิเดะโยะชิผู้ซึ่งเกรงว่าบุตรชายของตนอายุน้อยจะถูกบรรดาไดเมียวผู้ทรงกำลังแก่งแย่งอำนาจไป ถึงได้แต่งตั้งให้ไดเมียวที่มีกำลังมากที่ซุดจำนวนห้าคนเป็น ผู้อาวุโสทั้งห้า หรือ โกะไทโร (???) เป็นผู้สำเร็จราชการแทน ประกอบด้วย โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ, มะเอะดะ โทะชิอิเอะ (????), โมริ เทะรุโมะโตะ (????), อุเอะซุงิ คะงะกะสึ (????) และอุกิตะ ฮิเดะอิเอะ (?????) และฮิเดะโยะชิยังให้โงะไทโรกระทำการสัตย์สาบานว่าจะคอยช่วยเหลือฮิเดะโยะริบุตรชายของตนจนกว่าจะเติบใหญ่

อย่างไรก็ตามเมื่อไทโคฮิเดะโยะชิถึงแก่อสัญกรรมไปแล้ว เกิดความระแวงสงสัยและการคาดการณ์ว่าอิเอะยะซุจะยึดอำนาจขึ้นเป็นผู้ปกครองญี่ปุ่นเสียเอง จึงเกิดกลุ่มขุนนางตระกูลโทะโยะโตะมิที่ต่อต้านอำนาจของอิเอะยะซุ นำโดยอิชิดะ มิสึนะริ (Ishida Mitsunari, ????) คนรับใช้คนสนิทของไทโคฮิเดะโยะชิ ฝ่ายอิเอะยะซุไม่รอช้าได้จัดเตรียมเสาะแสวงหาพันธมิตรต่างๆไว้ล่วงหน้าก่อนแล้ว ในค.ศ. 1599 มะเอะดะ โทะชิอิเอะ ขุนนางที่อาวุโสที่ซุดในโงะไทโรซึ่งคอยเป็นผู้ไกล่เกลี่ยได้ถึงแก่อสัญกรรมลง ทำให้บรรดาขุนนางซะมุไรในญี่ปุ่นแบ่งออกเป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจน คือ

ในค.ศ. 1600 อุเอะซุงิ คะงะกะสึ ได้แสดงความกระด้างกระเดื่องต่ออิเอะยะซุอย่างชัดเจน โดยซะสมกำลังพลและสร้างป้อมปราการโดยไม่ได้รับอนุญาต อิเอะยะซุจึงยกทัพหมายจะปราบตระกูลอุเอะซุงิ แต่ในเวลาเดียวกันนั้นเองได้ทราบข่าวว่ามิสึนะริมีความเคลื่อนไหวในแถบคันไซ ยึดปราสาทฟุชิมิ ในนครเคียวโตะอันเป็นศูนย์การปกครองของโทะโยะโตะมิ ทำให้อิเอะยะซุเปลี่ยนใจยกทัพไปทางตะวันตกเพื่อเข้ายึดปราสาทโอซะกะอันเป็นที่อยู่ของโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะริ โดยอิเอะยะซุเดินทัพมาตามเส้นทางโทไก (???) เลียบมาตามชายฝั่งทางด้านใต้ของเกาะฮอนชู และให้ฮิเดะตะดะทายาทของตนเดินทัพไปตามเส้นทางนะกะเซ็น (Nakasen-d?, ???) เพื่อไปสมทบกันที่โอซะกะ แต่มิสึนะริทราบข่าวการยกทัพของอิเอะยะซุ จึงได้ยกทัพออกจากเคียวโตะมาพบกับทัพของอิเอะยะซุที่ทุ่งเซะกิงะฮะระ (???) ในจังหวัดกิฟุในปัจจุบัน

ในสมรภูมิ อิเอะยะซุได้เกลี้ยกล่อมให้ขุนพลฝ่ายทัพตะวันตกคนหนึ่ง ชื่อว่า โคะบะยะกะวะ ฮิเดะอะกิ (?????) ทรยศเปลี่ยนฝ่ายมาเข้ากับฝ่ายตะวันออก ทำให้ทัพฝ่ายตะวันตกต้องพ่ายแพ้ในการรบที่เซะกิงะฮะระ อิชิดะ มิสึนะริ ถูกจับกุมตัวได้และถูกประหารชีวิต

ยุทธการเซะกิงะฮะระเป็นยุทธการที่มีความสำคัญที่ซุด และเป็นการสู้รบระหว่างซะมุไรอย่างมหึมาครั้งซุดท้าย ในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น ชัยชนะยุทธการเซะกิงะฮะระ มีอำนาจเหนือญี่ปุ่นอย่างเบ็ดเสร็จ ปราศจากไดเมียวผู้ใดที่สามารถต่อต้านอำนาจ

เนื่องจากโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ สามารถอ้างการสืบเชื้อสายไปถึงตระกูลมินะโมะโตะของพระจักรพรรดิเซวะ หรือ เซวะ เก็นจิ (????) ได้ จึงเข้าข่ายมีสิทธิ์สามารถดำรงตำแหน่งโชกุนได้ ในค.ศ. 1603 โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ จึงได้รับการแต่งตั้งจากราชสำนักเคียวโตะ ให้ดำรงตำแหน่งเซอิไทโชกุน (?????) เป็นปฐมโชกุนแห่งตระกูลโทะกุงะวะ หรือเอะโดะบะกุฟุ (????) อันจะปกครองประเทศญี่ปุ่นไปอีกประมาณสองร้อยห้าสิบปี โดยมีศูนย์กลางการปกครองอยู่ที่นครเอะโดะหรือโตเกียวในปัจจุบัน

อิเอะยะซุได้อ้างอำนาจการปกครองเหนือไดเมียวทั้งหมดที่เหลืออยู่ในญี่ปุ่น โดยให้ไดเมียวเหล่านั้นมากระทำสัตย์สาบาทเป็นข้ารับใช้ของบะกุฟุ โดยอิเอะยะซุได้จำแนกไดเมียวออกเป็นสองกลุ่ม ได้แก่ ไดเมียวฟุได (Fudai, ??) คือไดเมียวที่เป็นข้ารับใช้เก่าแก่ของตระกูลโทะกุงะวะมาแต่สมัยเซ็งโงะกุ หรือตระกูลที่เข้ามาเป็นข้ารับใช้ของตระกูลโทะกุงะวะก่อนยุทธการเซะกิงะฮะระ และไดเมียวโทะซะมะ (??) คือไดเมียวที่ไม่ได้เป็นข้ารับใช้ของตระกูลโทะกุงะวะ หรือเข้ามาเป็นข้ารับใช้ของตระกูลโทะกุงะวะหลังยุทธการเซะกิงะฮะระ โชกุนอิเอะยะซุได้มอบดินแดนแคว้นๆต่างๆให้ไดเมียวเหล่านี้ไปปกครอง เรียกว่า ฮัน (?) โดยโชกุนอิเอะยะซุได้มอบฮันในจุดยุทธศาสตร์สำคัญให้ไดเมียวจากตระกูลโทะกุงะวะหรือไดเมียวฟุไดไปปกครอง ส่วนไดเมียวโทะซะมะนั้น ก็คือเจ้าครองแคว้นไดเมียวทั้งหลายในสมัยเซ็งโงะกุ ซึ่งมีอาณาเขตกว้างใหญ่อยู่ก่อนแล้ว

ในช่วงต้นศตวรรษที่สิบเจ็ด ได้มีชาติตะวันตกชาติใหม่มาติดต่อขอทำการค้ากับญี่ปุ่น ได้แก่ฮอลันดาและอังกฤษ ซึ่งมาถึงเมืองนางาซากิในค.ศ. 1600 โดยโชกุนอิเอะยะซุได้ให้นายวิลเลียม อดัมส์ (William Adams) ชาวอังกฤษต่อเรือแบบตะวันตกให้แก่ญี่ปุ่นเป็นลำแรกจนสำเร็จในค.ศ. 1604 นับแต่นั้นมาโชกุนอิเอะยะซุจึงอนุญาตให้พ่อค้าต่างๆล่องเรือสำเภาแบบตะวันตกไปค้าขายยังอาณาจักรต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียกว่า เรือตราแดง (???) โชกุนอิเอะยะซุดำเนินนโยบายเป็นมิตรกับฮอลันดาและอังกฤษ ในขณะเดียวกันก็พยายามที่จะขับไล่มิชชันนารีชาวโปรตุเกสและสเปนอันเป็นคู่แข่งการค้าของฮอลันดา ขับไล่และปราบปรามชาวคาทอลิก

ในค.ศ. 1605 โชกุนอิเอะยะซุได้สละตำแหน่งโชกุนให้แก่โทะกุงะวะ ฮิเดะตะดะ บุตรชายที่เป็นทายาทของตน โดยที่อำนาจการปกครองที่แท้จริงยังคงอยู่ที่อิเอะยะซุ เปลี่ยนมาดำรงตำแหน่งเป็นโอโงโช (???) หรือโชกุนผู้สละตำแหน่ง และย้ายมาพำนักที่ปราสาทซุมปุ (อันเป็นปราสาทที่อิเอะยะซุเคยพำนักเมื่อครั้งเป็นตัวประกันของตระกูลอิมะงะวะ) โดยยกให้โชกุนฮิเดะตะดะบริหารปกครองอยู่ที่นครเอะโดะ ทำให้โอโงโชอิเอะยะซุสามารถจัดการกับการค้าขายกับชาติตะวันตกได้ ในค.ศ. 1609 โอโงโชอิเอะยะซุออกประกาศอนุญาต ให้บริษัทอินเดียตะวันออกของฮอลันดา เข้ามาตั้งสถานีการค้าที่เมืองท่าฮิระโดะ นอกชายฝั่งเมืองท่านางาซากิ อันเป็นจุดเริ่มต้นของการค้าขายระหว่างญี่ปุ่นกับฮอลันดาไปอีกสองร้อยห้าสิบปี (ชาวฮอลันดายังคงอยู่ที่ฮิระโดะจนกระทั่งถูกย้ายออกไปที่เกาะเดะจิมะในสมัยของโชกุนโทะกุงะวะ อิเอะมิสึ)

ในค.ศ. 1614 เกิดข่าวลือว่าโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะริ บุตรชายของโทะโยะโตะมิ ฮิเดะโยะชิ ซึ่งได้เติบใหญ่อยู่ที่ปราสาทโอซะกะ ได้วางแผนกับมารดาของตนคือ นางโยะโดะ (??) ซ่องซุมกำลังคนเพื่อฟื้นฟูตระกูลโทะโยะโตะมิให้กลับมาปกครองญี่ปุ่นอีกครั้ง ในค.ศ. 1615 โอโงโชอิเอะยะซุร่วมกับโชกุนฮิเดะตะดะ ยกทัพขนาดมหึมาไปทำการล้อมปราสาทโอซะกะ ในฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว จนกระทั่งฝ่ายโทะโยะโตะมิพ่ายแพ้ ฮิเดะโยะริกระทำการเซ็ปปุกุเสียชีวิต โดยท่านหญิงเซ็ง (??) ภรรยาของฮิเดะโยะริผู้ซึ่งเป็นหลานสาวของอิเอะยะซุได้รับการช่วยเหลือออกมาก่อน

โอโงโชโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ถึงแก่อสัญกรรมในค.ศ. 1616 ที่ปราสาทซุนปุ อายุ 73 ปี หลังจากที่ถึงแก่อสัญกรรมแล้วโทะกุงะวะ อิเอะยะซุ ได้รับการยกย่องให้เป็นเทพเจ้า มีชื่อว่า โทโช ไดงนเง็น ( ?????) เป็นพระโพธิสัตว์ที่ลงมาโปรดสัตว์บนโลกมนุษย์ มีศาลเจ้าคือ ศาลเจ้านิกโกโทโช ในเมืองนิกโก จังหวัดโทะชิงิในปัจจุบัน


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301